เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 เวลา 13.30 น. กลุ่มหลักหกรักษ์คลองเปรมฯได้เข้าประชุมชี้แจงและหารือแนวทางร่วมกับคณะอนุกรรมการธิการแก้ไขปัญหาสิ่งปลูกสร้างบ้านมั่นคงทับถมทางระบายน้ำในคลองเปรมประชากร อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ที่มี นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ สส.ปทุมธานี พรรคก้าวไกล เป็นประธาน ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ N 406 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมชลประทาน กรมธนารักษ์ รวมถึง ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่เข้าร่วมประชุมด้วย
การประชุมได้มีการหารือถึงแนวทางการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆว่าที่ผ่านมามีแนวทางปฏิบัติอย่างไร และมีแนวทางการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างไร ซึ่งหน่วยงานที่ร่วมประชุมชี้แจงยังไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนต่อคณะอนุกรรมาธิการได้ในหลายประการ เช่น หน่วยงานใดเป็นผู้มีอำนาจในการอนุญาตให้ถมคลองเปรมประชากร การรับมือภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำ มีการศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบเพียงใด การแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อม จะดูแลวิถีชีวิตของชุมชนอย่างไร การป้องกันปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจะมีแนวอย่างไร การบริหารจัดด้านการจราจรจะดำเนินการอย่างไร เป็นต้นรศ.ดร.เสรีฯ ยังได้ชี้ให้เห็นถึงข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในด้านอุทกภัยที่เกิดขึ้นจากการที่หน่วยงานของรัฐเร่งดำเนินการถมคลองเปรมประชากร โดยมิได้มีการศึกษาผลกระทบที่เกิดขี้นอย่างละเอียดและรอบด้าน ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่มาประชุมยังไม่สามารถตอบคำถามต่อคณะอนุกรรมาธิการได้ในหลายข้อ ประกอบด้วย
1) เหตุใดต้องถมคลองเปรมประชากรจนความกว้างลดเหลือเพียง 25 เมตร
2) มีการประเมินความเสี่ยง และความเปราะบางน้ำท่วมหรือไม่
3) ระยะร่นจากตัวบ้านถึงขอบถนนประมาณ 1 เมตรกว่า เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยหรือไม่
4) แผนแม่บททรัพยากรน้ำฯ มุ่งเน้นมาตรการ “Nature-based solutions” แต่โครงการนี้กลับถมคลอง ฯ ลดพื้นที่รับน้ำ
5) แผนแม่บทป้องกันฯ มุ่งมาตรการ “Build back better and safer” แต่โครงการนี้กลับเพิ่มความเสี่ยง และความเปราะบางต่อผู้อยู่อาศัย เป็นโครงการ “บ้าน(ไม่)มั่นคง”
No comments:
Post a Comment