กรมศุลกากรจับกุมชาวอินเดียพยายาม ลักลอบนำสัตว์บัญชี CITES ออกนอกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สำนักข่าวพิมพ์ไทย | www.phimthai.com

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Search This Blog

Wednesday, March 6, 2024

กรมศุลกากรจับกุมชาวอินเดียพยายาม ลักลอบนำสัตว์บัญชี CITES ออกนอกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

วันที่ 6 มีนาคม 2567 นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ตามที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบายให้กรมศุลกากรเข้มงวดในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหลีกเลี่ยงนำ เข้า-ส่งออกของที่มีภาระค่าภาษี ของผิดกฎหมาย ของต้องห้าม ต้องกำกัด นายธีรัชย์ อัตนวานิช อธิบดีกรมศุลกากร จึงกำชับให้เจ้าหน้าที่เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบการนำเข้ามาในและการนำออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย
โดยเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 กรมศุลกากร โดยสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนควบคุมทางศุลกากร ฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ได้บูรณาการร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมประมง และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จับกุมผู้โดยสารชายชาวอินเดีย จำนวน 5 ราย และผู้โดยสารหญิงชาวอินเดีย จำนวน 1 ราย พยายามลักลอบนำสัตว์ มีชีวิตออกไปนอกราชอาณาจักร เดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ปลายทางเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย
โดยพบสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ กิ้งก่า (Black Throat Monitor,อื่น ๆ) 29 ตัว,งู (Corn Snake, Red Bamboo, อื่นๆ) 21 ตัว,นก (Bird of Paradise,นกแก้วปากใหญ่,อื่น ๆ) 15 ตัว,ตะกวด 7 ตัว,จิ้งเหลน 4 ตัว,กระรอกตาแดง 2 ตัว,ค้างคาว 2 ตัว,ลิงหัวสำลี (Cotton Top) 2 ตัว,เสือปลา 1 ตัว,แพนด้าแดง 1 ตัว,หมี Sulawesi Bear Cuscus 1 ตัว,กบ 1 ตัว และ หนู 1 ตัว รวมทั้งสิ้นจำนวน 87 ตัว โดยของกลางทั้งหมด ได้บรรจุซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าเดินทางที่ผู้โดยสารจะโหลดใต้ท้องเครื่อง
โฆษกกรมศุลกากร กล่าวต่ออีกว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานพยายามส่งออกไป นอกราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร มาตรา 242 ประกอบมาตรา 166 และมาตรา 252 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 ประกอบกับสัตว์ดังกล่าวบางรายการอยู่ภายใต้การควบคุมตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ภายใต้พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 มาตรา 23 วรรคแรก และมาตรา 112 และเป็นความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 และมาตรา 92 วรรค 2 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558
















       

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad



Pages