เมื่อวันที่ 22 มี.ค.2567 ที่สำนักงานพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ : พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผบช.สพฐ.ตร. เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น จากสถิติ สาเหตุเพลิงไหม้ การตรวจสถานที่เกิดเหตุของกลุ่มงานตรวจสถานที่เกิดเหตุ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง และศูนย์พิสูจน์หลักฐานที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ พบว่า 3 ปีย้อนหลัง (ปี 2564-2566) จำนวนเหตุเพลิงไหม้เกี่ยวกับสายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเฉลี่ย 136 เหตุต่อปีสาเหตุการเกิดเพลิงไหม้จากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า,หม้อหุงข้าว และ พัดลม มีการใช้กระแสไฟฟ้าปริมาณมาก นำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความร้อนหลายชนิดมาต่อร่วมกันที่ปลั๊กพ่วง และสายไฟฟ้าของปลั๊กพ่วงไม่สามารถรองรับกระแสไฟฟ้าปริมาณมากนี้ได้ ทำให้เกิดการ Overload เกิดเป็นความร้อนและทำให้เกิดเพลิงไหม้
เมื่อมีสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้อง “ตั้งสติ” หยุดกิจกรรมต่างๆ ทันที เช่น กำลังทานข้าวอยู่ต้องหยุดทันที หากเป็นเหตุไฟลุกไหม้เล็กน้อยให้ใช้อุปกรณ์ดับเพลิง เช่น ถังดับเพลิงในการดับไฟหากเป็นเหตุที่ไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ให้ใช้ช่องทางหนีไฟของอาคารหรือบันใดหนีไฟที่ใกล้ที่สุดเพื่อออกนอกตัวอาคาร
กรณีมีควันหนาแน่นให้ใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูกและหมอบคลานต่ำเพื่อออกนอกพื้นที่ห้ามใช้ “ลิฟท์” เป็นอันขาด ซึ่งเป็นข้อห้ามที่เป็นหลักสากลเนื่องจากอาจทำให้ติดอยู่ภายในลิฟท์ โทรศัพท์แจ้งเหตุไฟไหม้คือ 199 หรือหมายเลข 191
พล.ต.ท.ไตรรงค์ฯ กล่าวต่อว่า ข้อเตือนภัยประชาชนเกี่ยวกับเหตุเพลิงไหม้ หลังใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต้องปิดสวิตซ์และถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้ง ไม่เสียบปลั๊กที่เต้าเสียบพ่วงเยอะจนเกิดไป อาจทำให้เกิดความร้อนสูง
ไม่ซื้อสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ซื้อจากร้าน “ทุกอย่าง 20 บาท” เพราะเป็นสินค้าคุณภาพต่ำ ผลิตไม่ได้มาตรฐาน ชิ้นส่วนบางอย่างอาจมีต้นทุนผลิตต่ำอุปกรณ์ชิ้นส่วนทนความร้อนได้น้อย จึงขอให้เลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
#ดรหิมาลัยผิวพรรณ #คุยกับดรหิมาลัย #ยามเฝ้าแผ่นดินไทย #drhimalai #ไตรรงค์ผิวพรรณ
No comments:
Post a Comment