เปิดมติ 4:1 ป.ป.ช. รับคดี “บิ๊กโจ๊ก” มาสอบเอง “นิวัติไชย” เผยเป็นเรื่องกล่าวหาร้ายแรง ตำรวจระดับสูง ด้าน “สุชาติ” อ้าง 2 เหตุผล “ทำไม่ได้” - สำนักข่าวพิมพ์ไทย | www.phimthai.com

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Search This Blog

Monday, March 4, 2024

เปิดมติ 4:1 ป.ป.ช. รับคดี “บิ๊กโจ๊ก” มาสอบเอง “นิวัติไชย” เผยเป็นเรื่องกล่าวหาร้ายแรง ตำรวจระดับสูง ด้าน “สุชาติ” อ้าง 2 เหตุผล “ทำไม่ได้”

นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยในรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand กรณี ป.ป.ช.มีมติ รับสำนวนคดีที่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. กับพวกรวม 5 คน ถูกกล่าวหา ไปเรียกรับเงินหรือทรัพย์สิน ไว้พิจารณาดำเนินการไต่สวนเองว่า ซึ่งแต่เดิมพนักงานสอบสวนกองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท) ได้ส่งเรื่องกล่าวหา พ.ต.อ.ภาคภูมิ พิสมัย กับพวก ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องกับการเรียกรับเงินจากเว็บพนันออนไลน์ ซึ่งทาง ป.ป.ช. ได้มีมติส่งคืนไปให้พนักงานสอบสวน รับไปดำเนินการ ตาม ป.วิอาญา 

หลังจากนั้น พนักงานสอบสวนได้มีการกล่าวหา พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ฯ กับพวก เข้ามาเพิ่มเติมเป็นสำนวนที่ 2 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีการพิจารณากันแล้ว อำนาจของ ป.ป.ช.ในการไต่สวนเจ้าหน้าที่รัฐในการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ถ้าเป็นเรื่องกล่าวหาที่ไม่ร้ายแรง หรือเป็นเรื่องกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐบางระดับ คณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการป้องกันและปราบปราม การทุจริต รับไปดำเนินการแทนได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานสอบสวน ปปท.หรือ ดีเอสไอ สามารถรับไปดำเนินการได้  

แต่ใน พ.ร.บ. ป.ป.ช. ก็มีบทบัญญัติอีกข้อหนึ่ง ที่ได้กำหนดไว้ว่าระเบียบการตรวจสอบไต่สวน กรณีที่มีการมอบหมายเรื่องไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากสอบมาภายหลังพบว่า มีการกระทำความผิดร้ายแรงตามประกาศ ป.ป.ช. กำหนด หรือเป็นการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐในระดับ สูงกว่าผู้อำนวยการหรือระดับสูงขึ้นไป ก็ต้องแจ้งมายัง ป.ป.ช. เพื่อให้ ป.ป.ช. พิจารณาว่าจะรับไว้ทำเองหรือไม่

ซึ่งคำว่าประกาศร้ายแรงตามประกาศที่ป.ป.ช. กำหนด มี คดีเป็นเรื่องที่กระทบอย่างกว้างขวาง เป็นเรื่องที่สื่อมวลชนหรือประชาชนให้ความสนใจ เป็นเรื่องกล่าวหาที่อาจจะมีอิทธิพล หรือผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังซึ่งการดำเนินการในชั้นปกติไม่สามารถทำได้ เช่น นักการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงหรือเรื่องกระทบที่มีมูลค่าความเสียหายสูง ซึ่งเรื่องนี้ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องของบัญชีมีจำนวนเงินสูงมาก เพราะฉะนั้นตามหลักการตามประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็พิจารณาแล้วว่าเรื่องนี้สำนวนที่ส่งมาเพิ่มเติมเป็นเรื่องประกาศความผิดร้ายแรงและผู้ถูกกล่าวหาเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นตำแหน่งสูงกว่าระดับผู้อำนวยการ เพราะฉะนั้นก็จะต้องรับไว้เองตามประกาศความผิดร้ายแรง ซึ่งอยู่ในหน้าที่ของ ป.ป.ช. จะมอบหมายให้หน่วยงานอื่นไปดำเนินการคงไม่ได้เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้ ป.ป.ช. ทำเรื่องประเภทคดีใหญ่ๆ และเนื่องจากตำรวจเห็นว่าเรื่องนี้มีความเกี่ยวพันเป็นคดีร้ายแรงในกลุ่มผู้ต้องหาที่มีความเกี่ยวโยงกันในเรื่องของบัญชีม้าและเส้นทางการเงินต่างๆ จึงจำเป็นต้องดึงสำนวนเดิมเข้ามาด้วยซึ่งมีมติให้เรียกสำนวน คดีแรกที่กล่าวหา พ.ต.อ.ภาคภูมิฯ กับพวก กลับคืนมา ให้ ป.ป.ช. ทำการไต่สวนเอง
 
ผู้สื่อข่าวมีรายงาน แหล่งข่าวจาก ป.ป.ช. เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 4 มี.ค.2567 ที่ผ่านมานั้น พล.ต.อ.วัชรพล ประสานราชกิจ ประธาน ป.ป.ช.ได้บรรจุวาระของพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ฯ เป็นวาระจร และนำขึ้นพิจารณาในช่วงเช้าของการประชุม ทั้งๆที่โดยปกติแล้ว การประชุมจะพิจารณาวาระเพื่อพิจารณาให้เสร็จสิ้นก่อนจึงจะพิจารณาวาระจรและวาระเพื่อทราบ ตามลำดับ

ในการพิจารณาวาระของรอง ผบ.ตร.นั้น มีการหารือกันเคร่งเครียดกว่าสองชั่วโมง เพราะมีการพิจารณาเรื่องข้อกฎหมายและสำนวนคดีนี้อย่างหนัก ซึ่งทราบว่าประธาน ป.ป.ช. และนายเอกวิทย์ วัชชวัลคุ กรรมการ ป.ป.ช.เสนอให้ ป.ป.ช.นำคดีนี้กลับมาทำเอง โดยนายเอกวิทย์ฯ เสนอว่าควรตรวจสอบสำนวนนี้ใหม่ด้วย จากนั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช.เสียงข้างมาก ได้อ้างมาตรา 28 และ 29 แห่ง พ.ร.ป. ป.ป.ช.และรัฐธรรมนูญในการดึงเรื่องนี้กลับมาดำเนินการเอง   

ส่วนเสียงข้างน้อยในการลงมติคครั้งนี้คือ นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข กรรมการ ป.ป.ช. ให้เหตุผลสองข้อที่ ป.ป.ช.ไม่ควรรับสำนวนนี้มาดำเนินการ เนื่องจาก   
1.พฤติการณ์แห่งคดีระหว่างตำรวจกับเอกชน ร่วมกันกระทำความผิดกฎหมายการพนัน โดยนำเงินที่ได้มาไปแจกจ่ายตามบัญชีต่างๆนั้น เป็นความผิดฐานฟอกเงิน ซึ่งไม่ใช่ความผิดที่ ป.ป.ช. จะรับไว้ดำเนินการไต่สวน เพราะตำรวจในสำนวนคดีนี้ไม่ได้กระทำความผิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นการที่ ป.ป.ช. จะตั้งข้อกล่าวหาว่า ตำรวจในสำนวนคดีนี้กระทำความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157และ149 นั้น โดยที่ตำรวจยังไม่มีพฤติการณ์เรียกรับทรัพย์สินนั้น อาจไม่ถูกต้อง 
2.พนักงานสอบสวนยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้น หากสำนวนนี้ถูกส่งกลับมา โดยเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.2566 พนักงานสอบสวนแจ้ง ป.ป.ช. ว่ามีการสอบสวนขยายผลเพิ่มเติมและพบผู้ร่วมกระทำผิดระดับสูงด้วย เท่ากับว่าพนักงานสอบสวนยังสอบสวนไม่เสร็จและจะส่งให้ ป.ป.ช. พิจารณาไม่ได้จนกว่าจะการสอบสวนแล้วเสร็จ และหากพิจารณามาตรา 65 และ 66 แห่ง พ.ร.ป. ป.ป.ช. นั้นพบว่า ป.ป.ช.ต้องคืนสำนวนให้พนักงานสอบสวนดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนแล้วจึงนำมาพิจารณาอีกครั้ง

แหล่งข่าวยังระบุด้วยว่า หาก ป.ป.ช. รับสำนวนนี้มาดำเนินการนั้น ป.ป.ช. มีเวลาในการดำเนินการตามกฎหมาย 2 ปีและขยายเวลาได้อีก 1 ปี แต่มีข้อมูลว่า ตอนนี้ ป.ป.ช. มีคดีคงค้างกว่า 3,000 คดีและบางคดีสำคัญใกล้หมดอายุความ และพบว่า ป.ป.ช. มีอัตรากำลังรวมทั้งประเทศ กว่า 700 คน โดยในส่วนของพนักงานไต่สวน ป.ป.ช. นั้นต้องพิจารณาสำนวนคดีให้เสร็จสิ้นวันละ 2-3 คดี แต่ข้อเท็จจริงพบว่าสำนวนยังค้างคาที่ ป.ป.ช. ในจำนวนดังกล่าว     

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad



Pages