มรภ.สุราษฎร์ธานี พัฒนาห้องเรียน “วิศวกรสังคม” วช.หนุนการนำวิจัยและนวัตกรรม ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม - สำนักข่าวพิมพ์ไทย | www.phimthai.com

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Search This Blog

Monday, February 26, 2024

มรภ.สุราษฎร์ธานี พัฒนาห้องเรียน “วิศวกรสังคม” วช.หนุนการนำวิจัยและนวัตกรรม ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการบ่มเพาะวิศวกรสังคมด้วยวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ผอ.วช.) กล่าวว่า (วช.) ได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในการบ่มเพาะวิศวกรสังคมด้วยกระบวนการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อแก้โจทย์ปัญหาเชิงพื้นที่ โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เลือกประเด็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทักษะกระบวนการวิศวกรสังคมเพื่อนำความรู้มาพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยวิศวกรสังคมเข้ามามีส่วนร่วมกันพัฒนาโจทย์และการปฏิบัติงานร่วมกับท้องถิ่นได้อย่างมีส่วนร่วม เป็นต้นแบบที่ดีในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่
ดร.พลกฤต แสงอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่า หัวหน้าโครงการวิจัย ได้กล่าวถึง การดำเนินงานวิจัยโครงการห้องเรียนวิศวกรสังคม สำหรับพัฒนานักศึกษาและการยกระดับ นวัตกรรมชุมชนท้องถิ่น ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม ว่า
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ส่งเสริมและพัฒนาให้นักศึกษามีคุณลักษณะที่สำคัญ 4 ประการตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ได้แก่ 
1. มีทัศนคติที่ดีและถูกต้องต่อบ้านเมือง 
2. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง 
3. มีงานทำมีอาชีพ
4. เป็นพลเมืองดี
เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะวิศวกรสังคม 4 ประการ คือ นักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักนวัตกร และสร้างนวัตกรรมให้แก่ชุมชนท้องถิ่นโดยการขับเคลื่อนของนักศึกษาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นของ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พร้อมนี้ คณะได้เยี่ยมชมผลงานของวิศวกรสังคมในโครงการที่ร่วมดำเนินการกับวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ 
- ยาดมสมุนไพรจากบ้านคีรีสมุนไพร ตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัด สุราษฎร์ธานี
- ผลิตภัณฑ์ก้านปาล์มจักสาน ตำบล บ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี








ทั้งนี้ คณะผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ (วช.) คณะนักวิจัย และนักศึกษาได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากการดำเนินของโครงการเพื่อให้มีการต่อยอดความรู้ที่ยั่งยืนในอนาคต

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad



Pages