ทีมลูกเจ้าพ่อไทรเงิน 1 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สุดเจ๋ง!! คว้ารางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานฯ Drone Mission ในงานวันนักประดิษฐ์ - สำนักข่าวพิมพ์ไทย | www.phimthai.com

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Search This Blog

Sunday, February 4, 2024

ทีมลูกเจ้าพ่อไทรเงิน 1 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สุดเจ๋ง!! คว้ารางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานฯ Drone Mission ในงานวันนักประดิษฐ์

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ สถานีโทรทัศน์ Thai PBS จัด “การแข่งขันเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ประเภทปีกหมุนประลองปัญญา(Drone Mission) ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2567 ”เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถแก่เด็กและเยาวชน ให้มีพื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ โดยได้ทำการอบรมให้ความรู้แก่ครูและนักเรียนทั่วประเทศและศึกษาพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รอบคัดเลือก สนามที่ 1 และจากการแข่งขันของทีมที่ผ่านรอบคัดเลือกจาก 100 ทีมเหลือ 40 ทีม เพื่อเข้าสู่การชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสำหรับแชมป์ในปีนี้ได้แก่ ทีม ลูกเจ้าพ่อไทรเงิน 1 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม ตะโกราย วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ลูกเจ้าพ่อไทรเงิน 2 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร และ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ทีม พระปฐมวิทยาลัย ทีม C โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย
โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ผอ.วช.) ร่วมกับ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประธานในพิธีเปิดการแข่งขันฯ และมอบรางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รอบคัดเลือก สนามที่ 1 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านการบินด้วยนวัตกรรมโดรน โดย นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล หัวหน้าโครงการวิจัยฯ และนายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ พร้อมด้วย นายอนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ รองผู้อำนวยการ (ส.ส.ท.) ด้านเทคโนโลยีการกระจายสื่อ และผู้ทรงคุณวุฒิ (วช.) เข้าร่วมในพิธี
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ผอ.วช.) กล่าวว่า ในนามของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดย กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรู้สึกเป็นเกียรติและยินดียิ่งที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับประเภทปีกหมุนประลองปัญญา (Drone Mission) ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2567
ตามที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติหรือ (วช.) มีนโยบายที่มุ่งส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาด้านการศึกษาการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้เกิดการสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ซึ่งเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับโดรนในประเทศ ที่ประสบผลสำเร็จในการคิดค้นและพัฒนาซอฟต์แวร์การสั่งงานโดรนแปรอักษร ที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศกล่าวได้ว่าเป็น“โดรนแปรอักษร” ฝีมือคนไทย และเป็นนวัตกรรมหนึ่งเดียวในอาเซียน และ 1 ใน 9 ของโลกซึ่งเป็นการยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีของคนไทยให้ก้าวล้ำไปอีกขั้นทัดเทียมกับเทคโนโลยีของต่างประเทศ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่มีส่วนร่วมในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนทั่วประเทศที่มีความรู้พื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรม Coding ได้มีเวทีแสดงศักยภาพความสามารถและทักษะการเขียนโปรแกรม Coding ในการควบคุมและสั่งงานโดรน (Drone) ซึ่งจะช่วยให้เด็กและเยาวชนมีแรงกระตุ้นและเกิดแรงบันดาลใจ มีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างการพัฒนานวัตกรรม ทั้งยังสามารถนำไปต่อยอดการเรียนรู้การพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เกี่ยวกับอากาศยาน เพื่อรองรับการขยายตัวของเทคโนโลยีด้านการบินอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต
นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวว่า รู้สึกประทับใจที่เยาวชนทีมวิจัยจะได้นำสิ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อคนไทย มาช่วยสร้างคน สร้างอาชีพ และขอบคุณอาจารย์แต่ละโรงเรียนที่ให้การสนับสนุนนักเรียน นักศึกษา เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
สมาคมฯ ได้รับการสนับสนุนจาก (วช.) ในการพัฒนานวัตกรรมโดรนแปรอักษร (Drone Swarm Software) ที่พัฒนาขึ้นโดยสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ เป็นโดรนสัญชาติไทย ผลิตโดยคนไทยทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ สำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย และเป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถควบคุมโดรนให้บินขึ้นพร้อมกันครั้งละหลายๆ ลำ และจัดเรียงตำแหน่งตามที่กำหนดโดยการสั่งงานจากคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ซึ่งมีทีมเยาวชนนักประดิษฐ์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า การสร้างและการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่มีประสิทธิภาพการทำงานทัดเทียมกับของต่างประเทศ โดยที่ผ่านมาได้นำไปจัดแสดงในงานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติฯ และตอบสนองแนวโน้มการนำโดรนแปรอักษรมาใช้แสดงแทนการจุดพลุไฟมากขึ้น
ทั้งนี้งาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567” (Thailand Inventors’ Day 2023) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 6 กุมภาพันธ์ 2567 ณ Event Hall 100 - 102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ













No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad



Pages