ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 นายประศม สุขแสวง ประธานเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับพร้อมสมาชิกเหยื่อเมาแล้วขับ ซึ่งเป็นคนพิการได้เดินทางมาที่อาคารรัฐสภา เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อนายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับมีข้อเสนอเพื่อให้คณะกรรมาธิการฯ พิจารณา 3 ข้อ ดังนี้
1.ขอให้คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับที่ .............พ.ศ.......พิจารณาเพิ่มบทลงโทษกับสถานประกอบการ ร้านค้า บุคคลที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เด็ก เยาวชนที่อายุต่ำว่า 20 ปี จนนำไปสู่การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเมาแล้วขับ และพิสูจน์ได้โดยมีหลักฐานปรากฎชัด ขอให้มีการลงโทษสถานหนักทั้งทางแพ่ง ทางอาญา รวมไปถึงการเพิกถอนใบอนุญาตการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2.ขอให้คณะกรรรมาธิการพิจารณาให้สถานประกอบการ ร้านค้า ที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องมีส่วนรับผิดชอบ กรณีปล่อยปละละเลยไม่ห้ามปรามให้ผู้มาใช้บริการเมาแล้วขับไปชนคนจนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
3.ขอให้คณะกรรมาธิการพิจารณาให้ผู้ประกอบการตั้งกองทุนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเมาแล้วขับประธานเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับเปิดเผยว่า ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ในฐานะที่พวกตนเป็นเหยื่อเมาแล้วขับซึ่งได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2544 และเป็นกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลักดันให้ประเทศไทยมีการออกกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอออล์ เมื่อปีพ.ศ.2551 ในฐานะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพิษภัยของแอลกอฮอล์ โดยในขณะนั้นพรรคไทยรักไทย ที่เป็นรัฐบาลบริหารประเทศ จากความพยายามของทุกภาคส่วนในขณะนั้นเพื่อเสนอให้รัฐบาลภายใต้การบริหารของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เห็นความสำคัญของกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลให้เกิดการพิจารณาศึกษาการร่างพรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขึ้นนับตั้งแต่บัดนั้น แต่ในระหว่างที่มีการศึกษาเพื่อพิจารณาร่างพรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้เปิดโอกาสให้คณะเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับเข้าพบเพื่อเสนอข้อมูลพิษภัยจากการไม่ควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมัน อันเป็นต้นเหตุสำคัญของการเมาแล้วขับ นำมาซึ่งความสูญเสียโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์ จนเป็นที่มาของคำว่า 7 วันอันตราย จากความเคลื่อนไหวดังกล่าวของเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับและภาคีเครือข่ายภาคประชาชนหลายภาคส่วนทำให้รัฐบาลพรรคไทยรักไทยได้สั่งการไปยังกระทรวงการคลัง ซึ่งขณะนั้นมีนายทนง พิทยะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต่อมาอธิบดีกรมสรรพสามิต ได้ออกประกาศกรมสรรพสามิตห้ามไม่ให้ร้านค้าในสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอออล์ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป คุณูปการจากประกาศฉบับนี้ทำให้อุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับลดลงเป็นอย่างมาก และเป็นสารตั้งต้นของการออกพรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตามเมื่อพรรคเพื่อไทยได้มีโอกาสกลับมาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศอีกวาระหนึ่ง เครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลภายใต้การบริหารงานของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ต้องคำนึงถึงหลักการที่รัฐบาลในอดีตได้ทำมา คือการปกป้องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ใช่สินค้าปกติ เหมือนขนม น้ำอัดลม การมุ่งหวังตัวเลขทางเศรษฐกิจโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน รัฐบาลต้องคิดให้หนัก นายประศมฯ กล่าว
No comments:
Post a Comment