ระหว่างวันที่ 16 และ 17 พฤษภาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ผอ.วช.) มอบหมายให้ นางสาวสตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 เป็นตัวแทนจาก (วช.) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ประธานคณะผู้ตรวจสอบทางวิชาการกลุ่มเรื่องสังคมไทยไร้ความรุนแรง ปี 2566 และคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ลงพื้นที่ติดตาม ประเมินผล และร่วมสังเกตการณ์การสาธิตการใช้งานระบบตรวจจับการบุกรุกตามแนวชายแดนด้วยเซ็นเซอร์ตรวจวัดการสั่นสะเทือน และเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวแบบอัตโนมัติ ณ หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราด (บ้านหาดเล็ก) จังหวัดตราด ซึ่งโครงการดังกล่าวมี พลอากาศตรี จิรชัย ผุดผ่อง รองเจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม เป็นหัวหน้าโครงการนางสาวสตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 กล่าวว่า (วช.) ในฐานะหน่วยงานหลักของการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม มีการขับเคลื่อนโครงการวิจัยและนวัตกรรมในหลากหลายมิติ ในส่วนของมิติทางด้านสังคมและความมั่งคงเป็นหนึ่งในมิติที่ (วช.) ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งโครงการวิจัยและพัฒนาระบบตรวจจับการบุกรุกตามแนวชายแดนด้วยเซ็นเซอร์ตรวจวัดการสั่นสะเทือน และเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวแบบอัตโนมัติ อยู่ภายใต้แผนงานกลุ่มเรื่องสังคมไทยไร้ความรุนแรง ทำให้ประชาชนปลอดภัยทางด้านทรัพย์สินและสวัสดิภาพสาธารณะ โครงการนี้เป็นโครงการวิจัยที่ (วช.) ให้การสนับสนุนกับกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมได้นำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ ลดปัญหาการข้ามแดนผิดกฎหมาย สร้างความมั่นคงให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ และสามารถพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อไปรองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ประธานคณะผู้ตรวจสอบทางวิชาการกลุ่มเรื่องสังคมไทยไร้ความรุนแรง ปี 2566 กล่าวว่า ในฐานะที่ (วช.) ได้มอบหมายให้เป็นประธานคณะผู้ตรวจสอบทางวิชาการโครงการวิจัยและพัฒนาระบบตรวจจับการบุกรุกตามแนวชายแดนด้วยเซ็นเซอร์ตรวจวัดการสั่นสะเทือน และเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวแบบอัตโนมัตินี้ ซึ่งมีการพัฒนาระบบตรวจจับการบุกรุกตามแนวชายแดนให้มีความทนทานและทันสมัยยิ่งขึ้น โดยดำเนินการวิเคราะห์ลักษณะภูมิประเทศและกำหนดพื้นที่วิจัยสำหรับการออกแบบ วางระบบ ออกแบบ และติดตั้งโครงข่ายสื่อสารสำหรับเฝ้าตรวจแนวชายแดนที่เหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศของไทย และพัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัยความมั่นคง โดยใช้โครงข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในอนาคตพลอากาศตรี จิรชัย ผุดผ่อง รองเจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม กล่าวถึงแนวคิดที่มารวมถึงการนำไปใช้ประโยชน์ของโครงการวิจัยว่า โครงการวิจัยและพัฒนาระบบตรวจจับการบุกรุกตามแนวชายแดนด้วยเซ็นเซอร์ตรวจวัดการสั่นสะเทือน และเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวแบบอัตโนมัติ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ป้องกันการข้ามแดนผิดกฎหมายโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ประโยชน์ สามารถใช้งานได้ง่าย และควบคุมพื้นที่เข้าถึงยาก รวมถึงลดปริมาณกำลังทหารตรวจแนวชายแดนลง ซึ่งได้พัฒนาระบบตรวจจับการบุกรุกตามแนวชายแดน โดยใช้โครงข่ายสื่อสารระยะไกลที่มีคุณสมบัติกินพลังงานต่ำ ใช้เซ็นเซอร์วัดการสั่นสะเทือนและเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวแบบอัตโนมัติป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นทั้งกับชีวิตและทรัพย์สิน โดยระบบเซ็นเซอร์จะทำงานคล้ายกับการนำหูแนบพื้นดิน สามารถตรวจจับและคัดกรองเสียงหรือความถี่ในการสั่นสะเทือนของก้าวเดินมนุษย์ที่มีความแตกต่างจากสัตว์หรือการเคลื่อนไหวอื่นๆ ได้ นอกเหนือจากนี้มีความคาดหวังว่าประชาชนจะมีความสงบ ปลอดภัย และเป็นประโยชน์สูงสุดกับประเทศต่อไปทั้งนี้ (วช.) ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 แผนงาน P14 พัฒนานโยบายและต้นแบบเพื่อสร้างสังคมไทยไร้ความรุนแรง ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งสวัสดิภาพสาธารณะในการดำรงชีวิตโดยใช้การวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม สังคมไทยไร้ความรุนแรงและอยู่รวมกันอย่างสันติ ซึ่งการลงพื้นที่ติดตาม ประเมินผล และร่วมสังเกตการณ์การสาธิตการใช้งานในครั้งนี้ เพื่อนำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ และนำข้อบกพร่องมาแก้ไขทำให้เซ็นเซอร์ตรวจวัดการสั่นสะเทือน และเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวแบบอัตโนมัติสามารถใช้งานได้ในระยะที่ไกลขึ้น มีความแม่นยำมากขึ้น และทำให้การเฝ้าตรวจแนวชายแดนสะดวกยิ่งขึ้น
Search This Blog
Saturday, May 18, 2024
Home
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
วช. ลงพื้นที่ติดตามผลสาธิตการใช้งานระบบตรวจสอบการบุกรุกตามแนวชายแดนด้วยระบบเซ็นเซอร์
วช. ลงพื้นที่ติดตามผลสาธิตการใช้งานระบบตรวจสอบการบุกรุกตามแนวชายแดนด้วยระบบเซ็นเซอร์
Tags
# วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Share This
About สำนักข่าวพิมพ์ไทย
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Labels:
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Author Details
More than you can say
No comments:
Post a Comment