เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ มูลนิธิมดชนะภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดกิจกรรมรำลึกถึง “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว” ซึ่งในครั้งนี้ได้มีการบรรยายพิเศษ “รู้ทันแผ่นดินไหว” และการเสวนาในหัวข้อ “สิบปีผ่านไป แผ่นดินไหว เราไหวอยู่” และผู้เชี่ยวชาญด้านภัยธรณีพิบัติมาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พร้อมทั้งนิทรรศการพิเศษแผ่นดินไหว ณ บ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย จ.เชียงรายโดยมี นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธาน ซึ่งมี รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ประธานมูลนิธิมดชนะภัย ให้การต้อนรับ และได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ ดร.วีระชาติ วิเวกวิน กรมทรัพยากรธรณี นางอรภา สอาดเอี่ยม ตัวแทน จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 15 จ.เชียงราย เป็นผู้ให้ข้อมูลด้านแผ่นดินไหว พร้อมทั้ง กรมอุตุนิยมวิทยา,กรมโยธาธิการและผังเมือง,กรมชลประทาน ผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ยากต่อการพยากรณ์ให้มีความแม่นยำ แม้ว่าปัจจุบันจะมีองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จ.เชียงรายได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวมาหลายครั้ง แต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สร้างความตระหนกตกใจให้กับคนในพื้นที่และประชาชนทั้งประเทศ กับเหตุการณ์แผ่นดินไหวแม่ลาว เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดเหตุการณ์หนึ่งของประเทศไทย แผ่นดินไหวขนาด 6.3 ที่มีศูนย์กลางการเกิดอยู่ที่ ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย สร้างความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมากแรงสั่นสะเทือนของการเกิดแผ่นดินไหวสามารถรับรู้ได้ทั้งภาคเหนือของประเทศไทย ประเทศเมียนมาร์และสั่นสะเทือนจิตใจของประชาชน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและบรรเทาเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต กิจกรรม “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหว” เป็นการรำลึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวแม่ลาว โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5–7 พฤษภาคม 2567 เพื่อรำลึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวแม่ลาว ครบรอบ 10 ปี และสร้างความตระหนักรู้ ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ตรง ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนนำไปสู่การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนรศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ประธานมูลนิธิมดชนะภัย กล่าวว่า มูลนิธิมดชนะภัย ตั้งอยู่ที่บ้านสิงหไคล จังหวัดเชียงราย เป็นองค์กรที่ไม่เเสวงหาผลกำไร เพื่อร่วมส่งเสริมด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรมให้จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองที่น่าอยู่ และเป็นเมืองศิลปะ รวมทั้งมุ่งเน้นการใช้วิทยาศาสตร์เเละวิศวกรรมศาสตร์เข้ามาช่วยเหลือประชาชนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ โดยทางมูลนิธิมดชนะภัย ได้ร่วมจัดกิจกรรม “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหว” เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภัยพิบัติแผ่นดินไหว ผ่านสื่อศิลปะและวิทยาศาสตร์ ให้กับผู้ที่สนใจตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ และเป็นจุดเชื่อมต่อไปสู่เรื่องราวเหตุการณ์แผ่นดินไหวแม่ลาว ระหว่างภาคประชาสังคม ภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อเป็นการสะท้อนให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของการจัดการ ภัยพิบัติที่ดีร่วมกัน “แผ่นดินไหว เราไหวอยู่”ถัดมา กิจกรรมภายในงานได้มีการบรรยายพิเศษ “รู้ทันแผ่นดินไหว” และการเสวนาในหัวข้อ “สิบปีผ่านไป แผ่นดินไหว เราไหวอยู่” โดยมีผู้บริหารหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้ให้ข้อมูลความรู้ดังกล่าว จะเห็นได้ว่า แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ดังนั้นจึงควรศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของแผ่นดินไหวที่แท้จริงและการซักซ้อมแผนเพื่อรับมือกับเหตุแผ่นดินไหวเพื่อเป็นแนวทางในการลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งนี้ นิทรรศการพิเศษ “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว” แบ่งโซนนิทรรศการออกเป็น 3 โซน ดังนี้ นิทรรศการภาพเล่าเรื่อง นิทรรศการเชิงศิลปะสะท้อนภาพเหตุการณ์ และ นิทรรศการเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะจัดขึ้นตลอดเดือนพฤษภาคม ณ บ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย จ.เชียงราย ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมได้ฟรี
Search This Blog
Monday, May 6, 2024
Home
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
วช. รำลึกถึง “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว” สะท้อนผ่านนิทรรศการบอกเล่าเรื่องราว 10 ปีผ่านไป แผ่นดินไหว เราไหวอยู่ ณ บ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย จ.เชียงราย
วช. รำลึกถึง “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว” สะท้อนผ่านนิทรรศการบอกเล่าเรื่องราว 10 ปีผ่านไป แผ่นดินไหว เราไหวอยู่ ณ บ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย จ.เชียงราย
Tags
# วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Share This
About สำนักข่าวพิมพ์ไทย
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Labels:
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Author Details
More than you can say
No comments:
Post a Comment