วันที่ 28 ธันวาคม 2566 : ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ผอ.วช.) แถลงข่าว 10 ผลงานเด่นการวิจัยและนวัตกรรม ปี 2566 จากการขับเคลื่อนและบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณะ และการมอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ พร้อมเปิดตัว 10 Flagships งานวิจัย ปี 2567 “การขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ สู่ความเป็นเลิศ และนำประเทศไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ผอ.วช.) กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นผู้นำการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ เพื่อยกระดับขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ทันต่อสถานการณ์โลก โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาที่ตอบโจทย์ท้าทายสังคมและประเทศ ครอบคลุมสาขาต่างๆ โดยปี 2566 (วช.) มี 10 ผลงานเด่นการวิจัยและนวัตกรรม ดังนี้ รางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประกอบด้วย รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น การประกวดในเวทีระดับนานาชาติ (วช.) ได้คัดเลือกและนำส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในเวทีนานาชาติของประเทศไทยกว่า 300 ผลงานต่อปี และสามารถคว้ารางวัลจากทุกเวทีมาได้มากมาย ศูนย์สารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อาทิ ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ National Research and Innovation Information System: NRIIS และ จดหมายเหตุการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และดัชนีการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ งานวิจัยด้านผลผลิตการเกษตรในระดับส่งออก อาทิ การพัฒนาและยืดอายุการเก็บรักษาทุเรียนสดแบบแกะพู และการฉายรังสีต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว มะม่วงมหาชนกและส้มโอเพื่อการส่งออกประเทศสหรัฐอเมริกา งานวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข อาทิ นวัตกรรม Software Smart Bed นวัตกรรมป้องกันการเกิดแผลกดทับ นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace) และโครงการวิจัยท้าทายไทย : ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ หรือ Fluke Free Thailand งานวิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อาทิ นวัตกรรม “ระบบข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเบ็ดเสร็จ” หรือ “ศูนย์เฝ้าระวังคุณภาพอากาศ (Air Quality Information Center: AQIC)” และ สวน “ภูมิทัศน์พรรณไม้ลด PM2.5” การพัฒนาสมรรถนะด้วยปัญญาประดิษฐ์ : เทคโนโลยีโดรน อาทิ การบินโดรนแปรอักษรหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวในพื้นที่ โดรนประเมินความเสี่ยงปัญหาภัยแล้งให้เกษตรกร และโดรนบรรทุกสารดับเพลิง เพื่อการสนับสนุนและลดความเสี่ยงของการดับไฟป่า งานวิจัยเพื่อเตรียมรับสังคมสูงวัย อาทิ โครงการเปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง ศูนย์พัฒนาความรู้ด้านการวิจัยและนวัตกรรม อาทิ ศูนย์เกษตรวิถีเมือง พื้นที่แห่งการเรียนรู้นวัตกรรมการปลูกพืชในเมือง ศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน เป็นอาคารต้นแบบในการนำสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมมาสร้างพื้นที่ในการเรียนรู้ และ รางวัลรัฐบาลดิจิทัล ประจำปี 2566 (Digital Government Award 2023) หรือ DG Awards 2023 ซึ่ง (วช.) ได้ยกระดับระบบการให้บริการในรูปแบบออนไลน์ หรือ e-Service ให้มีมาตรฐาน จนได้รับรางวัล 4 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลหน่วยงานคุณภาพ ด้านบุคลากรดิจิทัล รางวัลหน่วยงานคุณภาพ ด้านบุคลากรดิจิทัล รางวัลหน่วยงานคุณภาพด้านการใช้ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance) และ รางวัลรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานระดับกรมที่ให้บริการเป็นหลัก อันดับที่ 5
และในปี 2567 (วช.) ได้ตั้ง Flagships ที่จะขับเคลื่อนยกระดับผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อทำให้เกิดผลงานที่มี Impact สูงทางสังคมและเศรษฐกิจ สร้างองค์ความรู้พื้นฐานทางวิชาการ เพื่อตอบโจทย์ท้าทายสำคัญทางสังคม ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ บรรลุตามเป้าหมายการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยได้วาง Flagships ไว้ 10 ด้าน ดังนี้
Flagships ที่ 1 ด้านอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (วช.) ได้กำหนดทิศทางและจุดมุ่งเน้นที่สำคัญของ Creative economy และ soft power ที่ประเทศไทยมีโอกาสและมีศักยภาพ ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ให้เป็นไปอย่างมีทิศทางเชิงกลยุทธ์ นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจโดยอุตสาหกรรม Soft Power เป้าหมายของประเทศไทย
Flagships ที่ 2 ด้านอุตสาหกรรมอาหาร (วช.) มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Innovation house) โดยใช้วัตถุดิบทางการเกษตรมาแปรรูปในเชิงพาณิชย์ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต ครอบคลุมประเด็นต่างๆ
Flagships ที่ 3 ด้านเศรษฐกิจฐานรากและเชิงพื้นที่ (วช.) มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและพื้นที่ชุมชนให้มีความมั่นคงและยั่งยืน
Flagships ที่ 4 ด้านการรองรับสังคมสูงวัย (วช.) มุ่งเน้นการวิจัยและนวัตกรรมที่รองรับสังคมสูงวัย เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ ครอบคลุมประเด็นต่างๆ
Flagships ที่ 5 ด้านสังคมไทยไร้ความรุนแรงนวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทย (วช.) มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์สังคมไทยไร้ความรุนแรง เพื่อความสงบสุขสันติของประชาชน
Flagships ที่ 6 ด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ (วช.) มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อความมั่นคงทางสุขภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์, นวัตกรรมทวารเทียม, นวัตกรรมเตียงพลิกตะแคงป้องกันแผลกดทับ เป็นต้น
Flagships ที่ 7 ด้านสิ่งแวดล้อม (วช.) มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความยั่งยืน และครอบคลุมในประเด็นต่างๆ
Flagships ที่ 8 ด้านการบริหารจัดการน้ำ (วช.) มุ่งเน้นการวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ ผลักดันแนวทางการจัดการน้ำเพื่อรับมือและแก้ปัญหาวิกฤตน้ำท่วม น้ำแล้ง ครอบคลุมประเด็นต่างๆ
Flagships ที่ 9 ด้าน AI ปัญญาประดิษฐ์ (วช.) มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ผ่านกิจกรรมต่างๆ
Flagships ที่ 10 ด้านการพัฒนาการของมาตรฐานการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศดิจิทัลของไทย (วช.) ได้จัดทำมาตรฐานการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศดิจิทัล เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศดิจิทัลและใช้เป็นมาตรฐานในการตรวจประเมินและรับรองคุณภาพการดำเนินงานคลังสารสนเทศดิจิทัลของประเทศไทย
No comments:
Post a Comment