3 ข้ออย่ามองข้าม! แอสตร้าเซนเนก้า แนะปัจจัยที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม เนื่องในวันมะเร็งรังไข่สากล - สำนักข่าวพิมพ์ไทย | www.phimthai.com

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Search This Blog

Thursday, May 4, 2023

3 ข้ออย่ามองข้าม! แอสตร้าเซนเนก้า แนะปัจจัยที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม เนื่องในวันมะเร็งรังไข่สากล


มะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับแปดในผู้หญิงทั่วโลก และพบเป็นอันดับสองรองลงมาจากมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงไทย[1] โดยในปี 2563 มีผู้ป่วยรายใหม่ทั่วโลกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่กว่า 314,000 ราย และเสียชีวิตเกือบ 207,000 ราย โดยคาดว่าภายในปี 2583 จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นถึง 42% เป็นผู้ป่วยรายใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัย 445,000 ราย และเสียชีวิตถึง 314,000 ราย1-2 เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่จะได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกคือประมาณ 7 เดือน1 หลังเริ่มแสดงอาการ ซึ่งหมายความว่า มีผู้หญิงจำนวนมากที่เข้าพบแพทย์ในระยะท้ายที่มะเร็งลุกลามมากแล้ว2 เนื่องจากขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาการต่างๆ ที่เป็นสัญญาณเตือนเบื้องต้น จึงคิดว่าเป็นอาการผิดปกติที่ไม่รุนแรง3-4

เนื่องในโอกาสวันมะเร็งรังไข่สากล (World Ovarian Cancer Day) โครงการ We Care โดย แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย จึงได้นำเสนอความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งรังไข่และปัจจัยเสี่ยง รวมถึงเน้นย้ำ 3 เรื่องที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เพื่อผลลัพธ์ในการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เพราะมะเร็งรู้เร็ว รักษาได้

อย่ามองข้ามอาการบ่งชี้และสัญญาณเตือนมะเร็งรังไข่

อาการที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งรังไข่ ได้แก่ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง[2] จากการที่ในท้องมีน้ำหรือก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่ อาการปวดท้องน้อย และมีประจำเดือนผิดปกติ อาการปวดท้อง อิ่มเร็ว เบื่ออาหาร ปัสสาวะบ่อย อั้นปัสสาวะไม่อยู่7-9 หรือท้องผูก ซึ่งเกิดจากการที่ก้อนมะเร็งอาจไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาการดังกล่าวไม่จำเพาะกับโรคใดโรคหนึ่ง จึงทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจยังไม่ตัดสินใจเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินเพิ่มเติม จนได้รับการรักษาล่าช้าในท้ายที่สุด ซึ่งนำไปสู่การที่ภาวะมะเร็งลุกลามมากขึ้น หรือในผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการของโรคเลย นอกจากจะตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจภายใน หรือการตรวจร่างกายทั่วไป[3]

อย่ามองข้ามปัจจัยเสี่ยงมะเร็งรังไข่

หากใครที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก[4] ถือว่ามีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป โดยโรคมะเร็งรังไข่นั้นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในผู้หญิงที่มีอายุมากเท่านั้น แต่หากผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 40 ปี หรือสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งที่กล่าวมาข้างต้นก่อนอายุ 50 ปี ควรเข้ารับการปรึกษากับสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์

นอกจากนี้ การมีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปีหรือเร็วกว่าปกติ ผู้ที่ยังไม่เคยตั้งครรภ์ คลอดบุตร หรืออยู่ในภาวะมีบุตรยาก ผู้ที่คลอดบุตรคนแรกหลังอายุ 30 ปี ผู้ที่หมดประจำเดือนช้ากว่า 55 ปี ก็นับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

อย่ามองข้ามความสำคัญของการเข้ารับการวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ตั้งแต่แรกเริ่ม

มะเร็ง รู้ไว รักษาได้ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการหมั่นสังเกตอาการบ่งชี้หรือสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งรังไข่อย่างสม่ำเสมอ หากเกิดอาการสักระยะหนึ่งแล้ว และเกิดขึ้นมากกว่า 12 ครั้งต่อเดือน ควรรีบพบแพทย์ พร้อมทั้งแจ้งประวัติครอบครัวที่อาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะได้รับการวินิจฉัยอย่างรวดเร็วและสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ หากได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มต้น[5] ก็จะมีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น

ทั้งนี้ การตรวจสุขภาพประจำปีโดยเฉพาะทางด้านนรีเวชถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ในการช่วยลดความเสี่ยงการตรวจพบโรคมะเร็งรังไข่ในระยะรุนแรงได้ นอกจากนี้การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

โครงการ "We Care เพราะเราแคร์คุณ" ก่อตั้งขึ้นเพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในสตรี ได้แก่ มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งที่พบบ่อยในบุรุษ ได้แก่ มะเร็งต่อมลูกหมาก พร้อมทั้งแบ่งปันความรู้เรื่องโรคโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อให้ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การวินิจฉัย ทางเลือกในการรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน และการดูแลตนเองเพื่อให้อยู่กับโรคมะเร็งได้อย่างไร้กังวล

แอสตร้าเซนเนก้า เล็งเห็นถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคในระยะเริ่มต้น รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพที่ดี โดยมีเป้าหมายในการขยายการเข้าถึงการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ประชาชนคนไทย เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน (People) ชุมชน (Society) และโลก (Planet) อย่างยั่งยืน #


เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้า

แอสตร้าเซนเนก้า (ชื่อย่อหลักทรัพย์ AZN ในตลาดหลักทรัพย์ LSE/ STO/ Nasdaq) เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก มุ่งเน้นทางด้านการคิดค้น พัฒนา และจำหน่ายยาเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มยาโรคมะเร็ง กลุ่มยาโรคหัวใจ ไต และระบบเผาผลาญ และกลุ่มยาโรคทางเดินหายใจ แอสตร้าเซนเนก้า มีฐานอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ และมีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมยาต่างๆ จากแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาไปยังเว็บไซต์ astrazeneca.co และช่องทางทวิตเตอร์ @AstraZeneca

 

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ

พัชรพรรณ โฮ่ลิ่ม ผู้จัดการฝ่ายกิจการองค์กร อีเมล pucharapan.holim@astrazeneca.com

โทร +66 (0) 86 999 8587

 

อ้างอิง

  1. World Ovarian Cancer Coalition. Global Ovarian Cancer Charter Data Briefing. Available at https://worldovariancancercoalition.org/wp-content/uploads/2022/05/Rapid-Diagnosis-FINAL.pdf. Accessed April 2023.   
  2. World Ovarian Cancer Coalition. World Ovarian Cancer Coalition Atlas 2023. Available at: https://worldovariancancercoalition.org/wp-content/uploads/2023/03/World-Ovarian-Cancer-Coalition-Atlas-2023-FINAL.pdf. Accessed April 2023. 
  3. Reid F, et al. The World Ovarian Cancer Coalition Every Woman Study: identifying challenges and opportunities to improve survival and quality of life. International Journal of Gynecologic Cancer 2021;31:238-244. 
  4. Momenimovahed Z, et al. Ovarian Cancer in The World: Epidemiology and Risk Factors. Int J Womens Health. 2019; 11: 287–299.
  5. Medical News Today. 6 silent signs of ovarian cancer: Missed or mistaken symptoms. Available at https://www.medicalnewstoday.com/articles/silent-signs-ovarian-cancer. Accessed April 2023.
  6. The Royal Marsden. Ovarian cancer: What are the symptoms, and how do I manage them? Available at https://www.royalmarsden.nhs.uk/private-care/ovarian-cancer-symptoms-management. Accessed April 2023
    Target Ovarian. Key Facts and Figures. Available at: https://targetovariancancer.org.uk/about-us/media-centre/key-facts-and-figures. Accessed April 2023.
  7. National Health Service. Ovarian Cancer Overview. Available at: https://www.nhs.uk/conditions/ovarian-cancer/symptoms/. Accessed April 2023.
  8. American Cancer Society. Signs and Symptoms of Ovarian Cancer. Available at: https://www.cancer.org/cancer/ovarian-cancer/detection-diagnosis-staging/signs-and-symptoms.html.
    Accessed April 2023

 







No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad



Pages